แผนทีนครอ๊าร์ตแต่งรูปเก่าเป็นรูปใหม่ 03รูปวาดสีน้ำมัน oil paintingแต่งรูปเก่าเป็นรูปใหม่ 01แต่งรูปเก่าเป็นรูปใหม่ 02

รูปถ่ายพระวัดโพธิ์เสด็จ, รูปแบบการห่มจีวรของพระภิกษุสงฆ์

รูปพระ หลวงอู๊ด วัดโพธิ์เสด็จรูปพระ หลวงอู๊ด วัดโพธิ์เสด็จรูปพระ ห่มคลุม ห่มพาดสังฆาฏิรูปพระ ห่มคลุมรูปพระ ห่มเฉวียงบ่าแล้วพาดบ่าซ้ายด้วยผ้าสังฆาฏิ

ถ่ายรูปพระ (หลวงอู๊ด) วัดโพธิ์เสด็จ จ.นครศรีธรรมราช ท่านให้เกียรติไปถ่ายรูปที่ร้านนครอ๊าร์ต

รูปแบบการครองจีวรของพระภิกษุสงฆ์

ห่มคลุม หมายถึงการคลองจีวรด้วยการม้วนผ้าชายจรดชายม้วนเข้าหาตัวลูกบวบมาวางบนบ่าคลุม 2 บ่ามิดชิดดี ใช้ในการห่มออกนอกวัด ซึ่งถ้าไม่ห่มคลุมในเวลาออกนอกเขตวัด(เขตติจีวรวิปวาโส)ต้องอาบัติทุกกฎ ปัจจุบันมักห่มดองออกนอกวัดโดยถือเป็นเรื่องธรรมดาว่าถูกต้อง โดยเฉพาะภาคเหนือ ทั้งๆที่ผิดวินัย รูปด้านล่างคือ ห่มคลุม ใช้ยามอยู่นอกวัด ตามวินัย ให้ภิกษุคลุมผ้า(ปิดบ่าทั้งสอง) และกลัดลูกดุมชายผ้า 

 

รูปพระ หลวงอู๊ด วัดโพธิ์เสด็จ

ห่มลดไหล่, ห่มเฉียง, หรือ ห่มเฉวียงบ่า ซึ่งเป็นการห่มที่ใช้ในการแสดงความเคารพ ปัจจุบันใช้ในการห่มในเขตวัด โดยนำผ้าจีวรผืนหนึ่งมาพันตัวชายจรดชายม้วนเข้าหาตัวลูกบวบวางบนบ่า รูปด้านล่างคือ ห่มเฉวียงบ่า แล้วพาดบ่าซ้ายด้วยผ้าสังฆาฏิ ที่พับยาวเก็บชาย ใช้สำหรับร่วมพิธีสังฆกรรมในวัด หรือในอุโบสถ เช่น งานบวช พิธีการกฐิน ลงอุโบสถ เป็นต้น

 

รูปพระ ห่มคลุม ห่มพาดสังฆาฏิ

ห่มดอง หมายถึง การครองผ้าลดไหล่ของภิกษุแบบมหานิกาย มีสังฆาฏิพาด คือการครองผ้าจีวรอันเป็นปริมณฑล (ห่มครบไตรจีวร) ที่เรียกว่า "ห่มดอง" กระทำโดยมีการพับจีวรเป็นทบแล้วคลี่ทาบมาที่บ่าชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงนำผ้าสังฆาฎิซึ่งพับเป็นผืนยาวมาพาดไหล่ด้านซ้ายของผู้ห่มก่อนที่จะนำ "ผ้ารัดอก" มารัดบริเวณอกอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเป็นการห่มที่เป็นที่นิยมทั่วไปของพระสงฆ์มหานิกาย ซึ่งดูเรียบร้อยและทะมัดทะแมงแน่นหนา เนื่องจากมีผ้ารัดอก ข้อเสียคือเปิดสีข้างดูไม่งาม อีกทั้งไม่ใช่การครองจีวรที่มีมาตามพระบรมพุทธานุญาติ เนื่องจากผ้ารัดอกไม่มีในอัฏฐบริขาร

 

รูปพระ ห่มเฉวียงบ่าแล้วพาดบ่าซ้ายด้วยผ้าสังฆาฏิ

อ้างอิง รูปแบบการห่มจีวร